อวัจนภาษาในภาษาหนังสือพิมพ์
โดย :taeytatang
สร้างเมื่อ 27-05-2008อวัจนภาษาในภาษาหนังสือพิมพ์
ผศ.สุภิตร อนุศาสน์
ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารจะใช้เสียง ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ก็ได้ แต่จะต้องมีระบบกฎเกณฑ์ที่เข้าใจ ตรงกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ภาษาที่ใช้สื่อสารกันเป็นปกติในชีวิตประจำวันแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ หรือวัจนภาษาและภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำหรืออวัจนภาษา
ถ้อยคำหรือวัจนภาษา เป็นภาษาที่มนุษย์กำหนดใช้และตกลงร่วมกันเพื่อแทนมโนภาพของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งสามารถรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัสได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำหรืออวัจนภาษา คือ กิริยาอาการต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้สื่ออารมณ์ความรู้สึกความต้องการ ฯลฯ บางท่านเรียกภาษาประเภทนี้ว่าภาษากาย (body language) อวัจนภาษา ของผู้ใดส่วนใหญ่จะบ่งบอกถึงความรู้สึกและบุคลิกภาพของผู้นั้น
วัจนภาษา และ อวัจนภาษา มีความสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะในขณะที่บุคคลสื่อสารกันใน ลักษณะที่เห็นหน้าเห็นตากัน ย่อมต้องใช้ทั้งวัจนภาษา และ อวัจนภาษา เช่น ถ้าพูดว่า "ฉันต้องการหนังสือเล่มนั้น" และชี้มือไปที่หนังสือเล่มที่ต้องการ ผู้รับสารก็สามารถหยิบหนังสือได้ถูกต้อง
การสื่อสาร โดยใช้วัจนภาษา ในรูปแบบการเขียนนั้น หากสังเกตให้ดีจะพบว่าถ้อยคำที่เขียนนั้นมีอวัจนภาษาปนอยู่ด้วย เช่น
"เขยิบ เขยิบ เขยิบ เขยิบ เข้ามาซิ กระแซะ กระแซะ กระแซะ เข้ามาซิ"
"ใกล้ ๆ เข้าไปอีกนิด ชิด ๆ เข้าไปอีกหน่อย สวรรค์น้อยน้อย อยู่ในวงฟ้อนรำ"
คำว่า เขยิบ กระแซะ หรือใกล้ ๆ ชิด ๆ ช่วยให้ผู้รับสารเห็นกิริยาอาการ หรือบทชมปลาในกาพร์เห่เรือ ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
"ชะแวงแฝงฝั่งแนบ วาดแอบแปบปนปลอม
เหมือนพี่แอบแนบถนอม จอมสวาทนาฎบังอร"
1. เทศภาษา (proxemics) เป็นภาษาที่ปรากฎจากลักษณะของสถานที่ที่บุคคลทำการสื่อสาร กันอยู่รวมทั้ง ช่องระยะที่บุคคลทำการสื่อสารห่างจากกัน สถานที่และช่วงระยะ จะสื่อความหมายที่อยู่ในจิตสำนึกของผู้ที่กำลังสื่อสารกันได้ เช่น บุคคลต่างเพศสองคนนั่งชิดกันอยู่บนม้านั่งตัวเดียวกันย่อมเป็นที่เข้าใจว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษ
2. กาลภาษา (chonemics) การใช้เวลาเป็นการสื่อสารเชิงอวัจนะ เพื่อแสดงเจตนาของผู้รับสาร เช่น การ ไปตรงเวลานัดหมาย แสดงถึง ความเคารพ การให้เกียรติ และเห็นความสำคัญของผู้ส่งสาร หรือการรอคอยด้วยความอดทน แสดงว่า ธุระของผู้รอคอยมีความสำคัญมาก
3. เนตรภาษา (oculesics) เป็นอวัจนภาษาที่ใช้ดวงตาสื่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความประสงค์ และ ทัศนคติบางประการในตัวผู้ส่งสาร
4. สัมผัสภาษา (haptics) หมายถึงอวัจนภาษาที่ใช้อาการสัมผัส เพื่อสื่ออารมณ์ความรู้สึก ตลอดจน ความ ปรารถนา ที่ฝังลึกอยู่ในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
5. อาการภาษา (kinesics) เป็นอวัจนภาษาที่อยู่ในรูปของการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อการสื่อสาร เช่น ศีรษะ แขน ขา ลำตัว เป็นต้น
6. วัตถุภาษา (objectics) เป็นอวัจนภาษาที่เกิดจากการใช้และการเลือกวัตถุ มาใช้ เพื่อแสดงความหมาย บางประการ เช่น การแต่งกายของคน ก็สามารถสื่อสารบอกกิจกรรม ภารกิจ สถานภาพ รสนิยม ตลอดจนอุปนิสัยของบุคคลนั้น ๆ ได้
7. ปริภาษา (vocalics) หมายถึงอวัจนภาษา ที่เกิดจากการใช้น้ำเสียงประกอบถ้อยคำที่พูดออกไป น้ำ เสียงจะมีความสำคัญมากในการสื่อความหมายนั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษา นอกจากจะเกิดขึ้นในขณะที่บุคคลกระทำการสื่อสาร เฉพาะหน้ากันแล้ว ในภาษาถ้อยคำหรือในวัจนภาษา เราจะสังเกตเห็นอวัจนภาษาแฝงอยู่ด้วยตัวอย่างที่เห็นอย่างสม่ำเสมอคือ การพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เพราะนักหนังสือพิมพ์ใช้ กลวิธีเขียนข่าวให้มีสีสันหรือวาดให้เห็นภาพ (illustration) ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการแสดงเรื่องให้ผู้อ่านดูมากกว่า การเล่าเรื่องหรือการรายงานข่าว การพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ จึงเป็นภาษาที่เขียนขึ้นเพื่อให้ผลทางอารมณ์ แก่ผู้อ่าน ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น speeial objects เช่น
"สำนักงบฯ ตีปี๊บ โครงการเงินกู้เจ๋ง"
"ฆ่าโหด 20 ศพ ฝังทั้งเป็น" ถ้าเปลี่ยน เป็น
"สำนักงบประมาณแถลงข่าวเรื่องโครงการเงินกู้ว่าประสบความสำเร็จ"
"ชาย 20 คน ถูกฆ่าโดยวิธีการฝังทั้งเป็น"
จะพบว่า ภาษาเป็นทางการ ขาดสีสัน ไม่เร้าอารมณ์ ให้ติดตามรายละเอียดในเนื้อข่าว เมื่อนำภาษาพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ มาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษาแล้วพบว่า
อวัจนภาษาที่พบมากในภาษาพาดหัวข่าวมี 3 ประเภท คือ
1. อาการภาษา อวัจนภาษา ประเภทนี้จะพบมากที่สุด เพราะเป็นอวัจนภาษาที่เสริมให้วัจนภาษามีความ หมายชัดเจน เช่น ให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ เช่น
3 โจรบุกปล้นเรือนมยุรา
รวบ คาโรงแรม โจ๋มัธยมมั่วยา
คนกรมศาสนาลุย ปิดแล้วสำนักเพี้ยน
สุรศักดิ์ได้ประกัน หอบ 18 ล้านค้ำ
4 งูเห่าซบ ชพ.คึก ยึดนนท์ - ลุยปทุมฯ เปิดทีมหักหาญสวัสดิ์
2. สัมผัสภาษา อวัจนภาษาประเภทนี้พบไม่มากนัก เป็นกริยาที่คนสองคนร่วมกันทำกิจกรรม หรือเป็น กิจกรรมของคนคนเดียวที่สัมผัสกับผู้อื่น เช่นกก แคชเชียร์ ผจก. ดับบริศนา
หลุยส์ ควง สนั่น ไหว้ครูรามฯ
มีกริยาบางคำที่เป็นสัมผัสภาษา แต่สื่อมวลชน นำมาใช้ในความหมายแฝง คำเหล่านี้ ไม่จัดเป็นสัมผัสภาษา เช่นรัฐควัก 300 ล. เน้น สิบล้อ
คำว่า "อุ้ม" ในที่นี้หมายถึง ช่วยเหลือ จึงไม่จัดเป็นสัมผัสภาษา3. ปริภาษา อวัจนภาษา ประเภทนี้มีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการใช้คำเลียนเสียง เพื่อแสดงอารมณ์หรือ กระตุ้นให้ผู้อ่านแปลความหมายจากเสียงที่ได้ยินว่า เป็นอารมณ์อย่างไร เช่น แท็กซี่
ฮื่ม - ประมง ปิดอ่าว ครม. ไม่ลดแวต
เสรีธรรม เฮ ลั่นรับอีดี้
คำว่า ฮื่ม เป็นน้ำเสียงแสดงอารมณ์ไม่พอใจ เฮ แสดงอารมณ์พอใจ ส่วน บิ้ม เป็นเสียงวัตถุระเบิดสำหรับอวัจนภาษาประเภท เทศภาษา กาลภาษา วัตถุภาษา เนตรภาษา เท่าที่ศึกษายังไม่พบแต่อาจจะปรากฎใน ภาพข่าว หรือ การ์ตูน ซึ่ง เป็นอวัจนาภาษาที่ช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาของสารมากขึ้น เช่น
ภาษาหนังสือพิมพ์ เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ และมีอิทธิพลมากกว่าสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เพราะหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนทุกระดับ การที่หนังสือพิมพ์มีภาษาเฉพาะใช้ในวงการ และโดยเฉพาะการพาดหัวข่าวและหัวข่าวรองที่มีเนื้อที่กระดาษ จำกัด จำเป็นต้องใช้คำกระชับสะดุดตา สะดุดใจคนอ่านซึ่งนับเป็นการสร้างสรรค์ทางภาษาที่น่าสนใจ และนักศึกษาอย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น