ยัยตาเล็กกับเพื่อนเที่ยวกัมพูชา

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์



              คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
  2. พระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
  4. ขุนนาง ข้าราชการ
  5. สุภาพชน
        บุคคลในกลุ่มที่ 1 และ 2 จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่ 4 และ 5 ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกันและเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำในสังคมมนุษย์เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้น เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เ ป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นแทบทุกชาติ ทุกภาษาจึงต่างก็มี คำสุภาพ สำหรับใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคารพในผู้เป็นประมุขเพียงใด เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และพระประมุขของเรา แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความ เคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรกภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันคำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด
        ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัยพระธรรมราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ 5 แห่งสุโขทัย เพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน คือ ไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ เช่น ราชอาสน์ พระสหาย สมเด็จ ราชกุมาร เสด็จ บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเศก เป็นต้น
        บางท่านกล่าวว่า คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ทรงนิยมเขมร ถึงกับเอาลัทธิและภาษาเขมรมาใช้ เช่น เอาคำว่า "สมเด็จ" ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์
        และจากหลักฐานที่พบข้อความในศิลาจารึกวัดศรีชุม กล่าวถึงเรื่องตั้งราชวงศ์และเมืองสุโขทัยตอนหนึ่งมีความว่า "พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเสกพ่ขุนบางกลางหาวใหเมืองสุโขไท" คำว่า "อภิเษก" นี้เป็นภาษาสันสกฤต ไทยเรารับมาใช้สำหรับพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง จึงอยู่ในประเภทราชาศัพท์ และพิธีนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุโขทัย จึงน่าสงสัยว่าในสมัยนั้นอาณาจักรสุโขทัยนี้ ก็คงจะมีการใช้คำราชาศัพท์บางคำกันแล้ว

ภูมิปัญญาทางภาษาไทย

ภูมิปัญญาทางภาษาไทย 


ภูมิปัญญาทางภาษาไทย 

ภูมิปัญญา หมายถึง พื้นความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถ ความจัดเจน และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่คนเราสั่งสมและสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต 

หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า ภูมิปัญญา คือ รากเหง้าของความคิดที่ทรงคุณค่าของบรรพบุรุษ นั่นเอง

ภูมิปัญญาทางภาษาไทย จึงหมายถึงความรู้ ความสามารถ ความชาญฉลาดในการแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์ผลงานทางด้านภาษาไทย ภูมิปัญญาทางภาษาไทยที่เด่น ๆ มีทั้งหมด ๘ ข้อ ได้แก่

๑. เชาน์ปัญญาไหวพริบในการสร้างคำ 
เมื่อไทยเราเริ่มคิดค้นอักษรไทยขึ้น เราได้สร้างคำขึ้นใช้โดยเลียนเสียงธรรมชาติบ้าง ขอยืมคำจากภาษาอื่นมาใช้บ้าง คิดคำขึ้นมาเองเพื่อใช้เรียกชื่อให้ ตรงกันบ้าง คำที่คิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เป็นคำเดียวโดด เช่น โค ฝน วิว หมอน พร้า ดาบ ฝุ่น กิน ข้าว ดู งาม ฯลฯ ต่อมาเราเห็นว่าคำที่คิดขึ้นไม่พอใช้ จึงได้สร้างคำขึ้นใหม่โดยวิธีการต่าง ๆ 

เช่น 
นำคำไทยมาเรียงต่อกันเป็นคำประสม เช่น น้ำใจ ชาวสวน นักเรียน
นำคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาซ้อนกันเป็นคำซ้อนเพื่อความหมาย เช่น รักใคร่ บ้านเรือน ดูแล โกรธเคือง
นำคำที่มีเสียงใกล้เคียงกันมาซ้อนกันเป็น คำซ้อนเพื่อเสียง เช่น งุนงง โยเย จวนเจียน เกะกะ ฯลฯ
นำคำเดียวกันมาใช้สองครั้ง กลายเป็นคำซ้ำ เช่น แดง ๆ เขียว ๆ เหลือง ๆ 

๒. ความร่ำรวยและความหลากหลายในถ้อยคำ 
คนไทยยังเกิดแนวคิดใหม่ นำคำที่คิดขึ้นมากมายนั้นมาจับกลุ่มใหม่ สำหรับคำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ก็เรียกชื่อว่า คำพ้องเสียง 

เช่น 
กาน การ กาล กาฬ การณ์ กานท์
สัน สรร สรรค์ สรรพ์ สันท์ สันต์ 
(ทุกคำที่ยกตัวอย่างมา จะมีความหมายทั้งนั้น)

ส่วนคำที่เขียนเหมือนกัน แต่อ่านต่างกัน เราเรียกชื่อว่า คำพ้องรูป เช่น
ครุ อ่านว่า ครุ (ค ควบกล้ำกับ ร) หรือ คะ – รุ 
กรี อ่านว่า กรี (ก ควบกล้ำกับ ร) หรือ กะ - รี

คำอีกกลุ่มหนึ่งมีความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน เราเรียกว่า คำพ้องความหมาย เช่น 
คำที่แปลว่า งาม ได้แก่ โศภา โศภิต โศภิน โสภา โสภี ตรู ประไพ สุนทร เฉิดฉัน ไฉไล ประอร เพริศ เพาพะงา เพรา อะเคื้อ จรูญ ลออ 

คำที่แปลว่า พระอาทิตย์ ได้แก่ สุริยะ สุริยา สุริยัน สุริยน สุริโย อาภากร ทินกร ทิพากร ทิวากร ภาณุ ภาสกร รพี รำไพ รวิ รวี รังสิมา สหัสรังสี 

๓. ภาษาไทยเป็นภาษามีวรรณยุกต์ 
นับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทยอย่างหนึ่งที่เรามีวรรณยุกต์ใช้ เพราะการใส่วรรณยุกต์ในคำใด ๆ จะทำให้คำนั้นเกิดความหมายใหม่ และเรามีคำใหม่ขึ้นใช้เพิ่มขึ้น เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ , ไก ไก่ ไก้ ไก๊ ไก๋ , ฟาง ฟ่าง ฟ้าง เป็นต้น 

๔. ภาษาไทยนิยมใช้คำสัมผัสคล้องจอง 
คนไทยเป็นคน เจ้าสำบัดสำนวน เราจึงคิดค้นคำสัมผัสขึ้นมาใช้ ทั้ง สัมผัสสระ และ สัมผัสอักษร (สัมผัสพยัญชนะ) โดยใช้
 กับเพลงในการละเล่นของเด็กไทย ปริศนาคำทาย สำนวนไทย คำพังเพย สุภาษิต บทร้อยกรอง บทเพลง ทั้ง สัมผัสสระ และสัมผัสอักษร (สัมผัสพยัญชนะ) 


สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระตัวเดียวกัน ถ้ามีตัวสะกดต้องใช้ตัวสะกดตัวเดียวกันด้วย เช่น มอง ปอง รอง

สัมผัสอักษร คือคำที่ใช้อักษรตัวเดียวกัน ถ้ามีตัวสะกด ใช้ตัวสะกดต่างกันได้ 

ตัวอย่างการใช้สัมผัสสระ 
การละเล่น จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น พายเรือกแอ่น...
ปริศนาคำทาย อะไรเอ่ย สี่ตีนเดินมา หลังคามุงกระเบื้อง
สำนวนไทย ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
คำพังเพย คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
สุภาษิต ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย
บทร้อยกรอง 
จำขึ้นใจในวิชาดีกว่าจด จำไม่หมดจดไว้ดูเป็นครูสอน 
จดและจำทำวิชาให้ถาวร เป็นอาภรณ์เกียรติคุณนุกูลกาล 
กลอนสุภาพหรือกลอนแปด 

บทเพลง โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย

๕. ภาษาไทยใช้ลักษณนาม 
ลักษณนามในภาษาไทยถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ที่ภาษาอื่นไม่มีใช้ จึงนับว่าเป็นความช่างคิดของคนไทยที่ใช้คำลักษณนามที่สามารถบอกลักษณะของสิ่งของนั้น ๆ ได้ เช่น

ข่าว ใช้ลักษณนามว่า กระแส
ยา ใช้ลักษณนามว่า ขนาน
กาพย์ กลอน คำประพันธ์ คาถา บทความ ใช้ลักษณนามว่า บท
พร ภัย เหตุผล ใช้ลักษณนามว่า ประการ
ปี่ ขลุ่ย ใช้ลักษณนามว่า เลา
ทัพ ทหาร ใช้ลักษณนามว่า กอง
จาก พลุ ปลาย่าง ลูกปืน ใช้ลักษรนามว่า ตับ
เชือก ลวด สายไฟฟ้า ใช้ลักษณนามว่า ขด

๖. ภาษาไทยเป็นภาษามีระดับ 
คนไทยมีนิสัยประจำชาติที่แตกต่างจากชาติอื่น คือ การมีสัมมาคารวะ ยกย่องให้เกียรติ อ่อนน้อมถ่อมตน ด้วยเหตุนี้การใช้ภาษาจึงมีความแตกต่างกันในแต่ละระดับของชนชั้น เช่น 

พระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ ใช้ว่า เสวย
พระภิกษุ ใช้ว่า ฉัน
บุคคลระดับสูง ผู้มีการศึกษา ใช้ว่า รับประทาน
บุคคลระดับกลาง บุคคลทั่วไป ใช้ว่า กิน
บุคคลระดับต่ำ ชนชั้นกรรมกร ใช้ว่า ยัด แดก ฯลฯ

ในการนำภาษาไปใช้แต่ละโอกาส หรือสถานการณ์จะแตกต่างกันไป เช่น
ภาษาพูดธรรมดา ใช้คำว่า บอก เล่า
ภาษาพูดที่สุภาพ ใช้คำว่า แจ้ง กล่าว
ภาษาเขียน ใช้คำว่า เรียน ชี้แจง แสดง

ตัวอย่างที่ยกมาเป็นแสดงนี้ แสดงให้เห็นภูมิปัญญาทางภาษาของคนไทยในการคิดค้นถ้อยคำขึ้นใช้ให้มีความแตกต่างกันตามบริบทของการใช้คำ และตามความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย

๗. ภาษาไทยมีการผวนคำ 
การผวนคำ เป็นการนำคำมาสับที่ สับเสียง เพื่อให้เกิดความหมายใหม่ หรืออาจไม่มีความหมายเลย แต่แสดงถึงความมีอารมณ์ขัน และความสนุกของคนไทย.ในการสร้างสรรค์คำใหม่เท่านั้น คำผวนบางคำเมื่อสับที่ สับเสียงแล้ว อาจมีความหมายไปในทางที่หยาบโลน หรือส่อเจตนาในทางเพศ แต่ถือว่าเป็นการเล่นคำเพื่อความสนุกสนานในหมู่คนใกล้ชิด คำผวนนี้ไม่ควรนำมาใช้ในที่สาธารณชน เช่น บันได ผวนว่า ไบดัน ตีนแตก ผวนว่า แดกตีน
หมีมา ผวนว่า หมามีสวัสดี ผวนว่า สวีดัด ฯลฯ

๘. ภูมิปัญญาไทยในบทประพันธ์ 
คนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ชอบเรียงร้อยถ้อยคำให้เกิดเสียงไพเราะ เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วและร้อยกรอง ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาไทยอันยอดเยี่ยมในการใช้ถ้อยคำ เช่น คำประพันธ์ต่อไปนี้ 

“บ้านสร้างน้ำทุ่งสว่างขึ้นอีกครั้งเมื่อเกือบจะใกล้ยามสี่ พระจันทร์ครึ่งดวงหลังฝนเหือดมีสีแดงปน จึงเจือแสงเข้มขึ้นกว่าธรรมดา หยาดน้ำค้างซึ่งค้างบนปลายไม้และหญ้าวาววับจับนัยน์ตา เป็นประกายดูประหนึ่งท้องทุ่งดาษด้วยเพชร...” (ยาขอบ) 

เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า
มิหวังกระทั่งฟากฟ้า ซบหน้าติดดินกินทราย
จะเจ็บจำไปถึงปรโลก ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ชาติมาตรมตาย อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ
(อังคาร กัลยาณพงศ์) 

ธรรมชาติของภาษา



ธรรมชาติของภาษา


           ในสมัยก่อน มนุษย์ยังไม่รู้จักใช้ภาษาเหมือนในปัจจุบัน นักปราชญ์ทางภาษาสันนิษฐานว่า ภาษาเริ่มแรกของมนุษย์ คือการใช้อวัยวะสื่อสารให้เข้าใจกัน เช่น ปรบมือ พยักหน้า ยักคิ้ว แลบลิ้น เป็นต้น ซึ่งเราเรียกว่า ภาษาใบ้            ต่อมามนุษย์เริ่มที่จะส่งเสียงเพื่อการสื่อสารให้เข้าใจกัน การส่งเสียงนี้ถือว่าเป็นกำเนิดของภาษา ซึ่งมนุษย์จะเลียนแบบมาจากเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงนกร้อง เสียงน้ำตก เสียงเด็กทารก เป็นต้น
           จากเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มนุษย์ได้นำมาประดิษฐ์เป็นตัวอักษรเพื่อใช้ในการสื่อสาร ตัวอักษรเริ่มแรกของไทยเริ่มขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งทรงประดิษฐ์อักษรไทยเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ มีพยัญชนะ ๓๙ ตัว สระ ๒๐ ตัว และวรรณยุกต์ ๒ ตัวหลังจากนั้นตัวอักษรไทยได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมา ทั้งในเรื่องรูปลักษณะ การวางตัวอักษร และจำนวนของตัวอักษร จนกระทั่งตัวอักษรไทยในปัจจุบัน มีพยัญชนะ ๔๔ ตัว รูปสระ ๒๑ รูป แต่มี ๓๒ เสียง รูปวรรณยุกต์ ๔ รูป แต่มี ๕ เสียง
          ไม่แต่เพียงตัวอักษรไทยเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ความหมายของคำบางคำ และการนำอักษรไทยไปใช้ในการเรียบเรียงถ้อยคำ หรือสำนวนโวหารยังแตกต่างกันไปตามกาลเวลาอีกด้วย 
สำนวนสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีคำเชื่อมใช้ จะเขียนต่อเนื่องกันไป
      เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช     “พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง...”
           สำนวนสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่นจดหมายราชทูตไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของ พระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นสำนวนที่ใช้ถ้อยคำสละสลวย อธิบายยืดยาว และแสดงความเคารพนบนอบของผู้เขียน 
           “หนังสือออกพระวิสุทธสุนทรราชทูต ออกหลวงกัลยาราชไมตรีอุปทูต และออกขุนศรีวิสารวาจาตรีทูต มาเถิงมงเซียร์ลาญีซึ่งได้บังคับกำปะนีทั้งปวง ด้วยท่านสำแดงความยินดีและนับถือ ได้ให้สำเร็จการทั้งปวงตามพระราชหฤทัยพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้เป็นเจ้าอัตโน...”
           ส่วนสำนวนในปัจจุบันจะสั้น กระชับ ใช้ภาษาเรียบง่าย เพื่อให้ทันต่อยุคเทคโนโลยีข่าวสารที่ต้องการความรวดเร็ว เช่น
“เรียน สมาชิก ชมรมสร้างสรรค์เกษตรไทย ชมรมสร้างสรรค์เกษตรไทยได้รับอนุมัติโครงการฝึกอบรมสมาชิกเรื่อง ขยายพันธุ์ไม้ให้ได้ประโยชน์ต่อสังคม โดยเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นฐานในการดำเนินงาน...” 
           ตามความหมายของ ธรรมชาติของภาษา หมายความว่า สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของถ้อยคำที่ใช้สื่อสารกัน
ดังนั้น ธรรมชาติของภาษาไทยตามที่กล่าวมาจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจึงถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว 
           สาเหตุที่ภาษาต้องเปลี่ยนแปลงไป ส่วนหนึ่งเกิดจากสังคมที่เจริญก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งมนุษย์มีมันสมองที่จะคิดค้น สร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการนำไปใช้ และช่วยให้มนุษย์มีความสุขมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ภาษาจึงต้องเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุด 
แต่ไม่ว่าธรรมชาติของภาษาจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด กฎเกณฑ์หรือหลักภาษาจะยังคงอยู่ เพื่อเป็นแนวทางในการนำภาษาไทยไปใช้ให้ถูกต้อง และสามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ เป็นต้นว่า การเรียบเรียงถ้อยคำ ลักษณะของประโยค ความหมายของคำ ฯลฯ
         การศึกษาเรื่องธรรมชาติของภาษา ทำให้มนุษย์มีความรู้ ความเข้าใจเนื้อแท้ของภาษาว่าภาษาจะดำรงอยู่ได้หรือเสื่อมสลายไป ก็เพราะน้ำมือของมนุษย์ เมื่อภาษายังคงอยู่ ภาษาจะไม่อยู่นิ่งกับที่ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่กฎเกณฑ์การใช้ภาษาจะยังคงอยู่ เพื่อเป็นแบบแผนในการนำภาษาไปใช้ต่อไป

วรรณยุกต์และการผันวรรณยุกต์

วรรณยุกต์และการผันวรรณยุกต์

ประโยชน์ของวรรณยุกต์คือช่วยทำให้คำมีความหมายมากขึ้น แตกต่างจากภาษาของชาติอื่น ๆ เช่น ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า (เสียงนี้มี 4 ความหมาย) กล่าวคือ
ปา หมายถึง ขว้างปา
ป่า หมายถึง ที่มีต้นไม้ภูเขา และสัตว์
ป้า หมายถึง พี่ของพ่อหรือแม่
ป๊า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา
ป๋า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา
        ต่างจากภาษาอังกฤษ ไม่ว่านักเรียนจะออกเสียง dog สูงต่ำอย่างไร ความหมายคงเดิม

 วรรณยุกต์มี 4 รูป 5 เสียง

วรรณยุกต์มีรูป ดังนี้
ภาพ:ไม้เอก.JPGภาพ:ไม้ตรี.JPGภาพ:ไม้จัตวา.JPGภาพ:โท.JPG






เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง
  1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
  2. เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
  3. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
  4. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
  5. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว

 การผันวรรณยุกต์

        ผันวรรณยุกต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.วรรณยุกต์มีรูป หมายถึงวรรณยุกต์ที่มีเครื่องหมายบอกระดับของเสียงให้เห็นชัดเจนอยู่เบื้องบนอักษร มีอยู่ 4 รูปคือ

วรรณยุกต์ เอก
วรรณยุกต์ โท
วรรณยุกต์ ตรี
วรรณยุกต์ จัตวา

โดยลำดับ และให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตอนสุดท้าย เช่น
        ก่ ก้ ก๊ ก๋ ปั่น ปั้น ลื่น เลี่ยน เป็นต้น ถ้าเป็นอักษรควบหรืออักษรนำให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตัวที่ 2 เช่น
        ครุ่น คลื่น เกลื่อน เกล้า ใกล้ เสน่ห์ หมั่น โกร๋น ฯลฯ
        รูปวรรณยุกต์นี้เริ่มใช้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่มีใช้อยู่เพียง 2 รูปเท่านั้นคือ ไม้เอก กับไม้โท แต่ไม้โทในสมัยนั้นเขียนเป็นรูป กากบาท ( + ) เหมือนไม้จัตวาในปัจจุบัน
        ต่อมาในปลายสมัยกรุงสุโขทัยจึงได้เปลี่ยนรูปกากบาทมาเป็นรูปไม้โทเช่นปัจจุบัน ส่วนไม้ตรีกับไม้จัตวายังไม่มีใช้ น่าจะเพิ่มมีใช้เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงจะได้คิดสำหรับใช้เขียนคำที่มาจากภาษาจีนเป็นมูลเหตุ ดังปรากฎคำเขียนอยู่ในกฎหมายศักดินาพลเรือนซึ่งมีคำเขียนเป็นภาษาจีนที่ใช้ไม้ตรีและจัตวากำกับอยู่หลายชื่อเช่น จุ้นจู๊ - นายสำเภา , บั๋นจู๊ - พนักงานซ่อมแปลงสำเภา เป็นต้น
        ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือก่อนนั้นขึ้นไปก็ยังไม่มีวรรณยุกต์ตรี หรือวรรณยุกต์จัตวาใช้ ข้อนี้มีหลักฐานยืนยันอยู่ในหนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราสอนหนังสือไทยที่พระโหราแต่งขึ้นในสมัยนั้น

มีโคลงบอกวรรณยุกต์ไว้บทหนึ่งว่า
สมุหเสมียนเรียนรอบรู้ วิสัญช์
พินเอกพินโททัณ ฑฆาตคู้
ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา
แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึงให้เป็นเสมียน

        ข้อความในโคลงบทนี้แสดงให้เห็นว่า แม้สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ตรี และ วรรณยุกต์จัตวาใช้ ถ้ามีใช้คงจะได้ปรากฎอยู่ในโคลงบทนี้ เพราะเป็นตำราเรียนอยู่ในสมัยนั้น
2.วรรณยุกต์ไม่มีรูป ได้แก่เสียงที่มีทำนองสูงต่ำตามหมวดหมู่ของตัวอักษร โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับก็อ่านออกเสียงได้เหมือนมีรูปวรรณยุกต์กำกับอยู่ด้วยเช่น นา หนะ นาก นะ หนา ฯลฯ
        วรรณยุกต์ไม่มีรูปต่างกับวรรณยุกต์ที่มีรูปคือ วรรณยุกต์ที่มีรูปจะต้องมีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับอยู่บนตัวอักษร และมีเพียง 4 เสียงเท่านั้นคือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา ตามรูปวรรณยุกต์แต่ไม่มีเสียงสามัญ ส่วนวรรณยุกต์ไม่มีรูปจะมีครบทั้ง 5 เสียงเต็มตามจำนวนเสียงที่กำหนดใช้อยู่ในภาษาไทย โดยไม่มีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับ แต่อาศัยการออกเสียงตามหมู่ของอักษรทั้ง 3

 เสียงของการผันวรรณยุกต์ เราแบ่งได้ดังนี้

  • พื้นเสียง คือ คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่มีเสียงวรรณยุกต์
  • คำเป็น คือ คำที่ประสมกับสระเสียงยาว หรือเสียงสั้นที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย และ เกอว เช่น มา กิน ข้าว ฯลฯ
  • คำตาย คือ คำที่ประสมกับสระเสียงสั้น หรอเสียงยาวที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น เด็ก นะ จาก ฯลฯ
  • คำตาย ผันได้ 3 คำ ใช้วรรณยุกต์ เอก โท จัตวา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1.คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นตรี เช่น คะ คก คด คบ ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
2.คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ

วิธีผันอักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์

        วิธีผันอักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์ นั้น ใช้ผันรูปวรรณยุกต์ต่าง ๆ กันดังนี้ อักษรสูง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก และ โท คำเป็นผันได้ 3 คำ คำตายผันได้ 2 คำ พยัญชนะเสียงสูง
ภาพ:การผัน.JPG
คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา         เช่น ขา ขง ขน ขม เขย ขาว ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงเอก        เช่น ข่า ข่ง ข่น ข่ม เข่ย ข่าว ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท         เช่น ข้า ข้ง ข้น ข้ม เข้ย ข้าว
คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขะ ขก ขด ขบ ขาก ขาด ขาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ข้ะ ข้ก ข้ด ข้บ ข้าก ข้าด ข้าบ อักษรกลาง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท วรรณยุกต์ ตรี วรรณยุกต์จัตวา พยัญชนะเสียงกลาง :
ภาพ:กลาง1.JPG
คำเป็น ผันได้ 5 คำ คำตายผันได้ 4 คำ คำเป็น         พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา กง กน กม เกย กาว
ผันด้วยวรรณยุกต์เอก        เป็นเสียงเอก เช่น ก่า ก่ง ก่น ก่ม เก่ย ก่าว
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ก้า ก้ง ก้น ก้ม เก้ย ก้าว
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี        เป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ก๊ง ก๊น ก๊ม เก๊ย ก๊าว
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา        เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า ก๋ง ก๋น ก๋ม เก๋ย ก๋าว
คำตาย         พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น กะ กก กด กบ กาก กาด กาบ
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ก้ะ ก้ก ก้ด ก้บ ก้าก ก้าด ก้าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี        เป็นเสียงตรี เช่น ก๊ะ ก๊ก ก๊ด ก๊บ ก๊าก ก๊าด ก๊าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา        เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋ะ ก๋ก ก๋ด ก๋บ ก๋าก ก๋าด ก๋าบ

        อักษรต่ำ ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท คำเป็นผันได้ 3 คำ พยัญชนะเสียงต่ำ
ภาพ:ต่ำ1.JPG
คำเป็น         พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คา คง คน คม เคย คาว
ผันด้วยวรรณยุกต์เอก        เป็นเสียงโท เช่น ค่า ค่ง ค่น ค่ม เค่ย ค่าว
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงตรี เช่น ค้า ค้ง ค้น ค้ม เค้ย ค้าว
คำตาย สระสั้น        พื้นเสียงเป็นตรี เช่น คะ คก คด คบ
ผันด้วยวรรณยุกต์เอก        เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา        เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
คำตาย สระยาว        พื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ

        จะเห็นได้ว่า อักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปวรรณยุกต์เสมอ แต่อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่ารูปวรรณยุกต์หนึ่งขั้น เว้นไว้แต่วรรณยุกต์จัตวา ซึ่งเสียงคงเป็นจัตวาตามรูปวรรณยุกต์เพราะไม่มีเสียงใดที่จะสูงไปกว่านั้นอีก เพราะเหตุที่อักษรต่ำมีเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ จึงมักทำให้เกิดความฉงนในเวลาต้องการจะทราบเสียงวรรณยุกต์ที่แท้จริง แต่ถ้าเข้าใจวิธีผันอักษรกลางเป็นอย่างดีแล้วก็สามารถเทียบเสียงได้โดยอาศัยอักษรกลางเป็นหลัก
ภาพ:ไตรยางค์.JPG

ระดับภาษา

ระดับภาษา




ระดับภาษาแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ ภาษาแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
 .....๑ ภาษาแบบเป็นทางการ ภาษาแบบนี้ใช้ในโอกาสคัญๆ ทั้งที่เป็นพิธีการ เช่น ในงานราชพิธีและในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการ เช่น การกล่าวเปิดการประชุมต่างๆ การกล่าวคำปราศรัย และการประกาศ เป็นต้น ภาษาแบบเป็นทางการอาจจัดเป็น ๒ ระดับคือ ภาษาระดับพิธีการ และภาษาระดับมาตรฐานราชการหรือภาษาระดับทางการ
.....๑.๑ ภาษาระดับพิธีการ มีลักษณะเป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบและมีรูปประโยคความซ้อนให้ความหมายขายค่อนข้างมาก ถ้อยคำที่ใช้ก็เป็นภาษาระดับสูง จึงงดงามไพเราะและประณีต ผู้ใช้ภาษาระดับนี้จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง นอกจากใช้ในโอกาสสำคัญ เช่น ในงานพระราชพิธีแล้ว ภาษาระดับพิธีการยังใช้ในวรรณกรรมชั้นสูงอีกด้วย ดังตัวอย่างจากคำประกาศในการพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าดังนี้
"ขอพระบรมเดชานุภาพมหึมาแห่งสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราช จงคุ้มครองประเทศชาติและประชาชาวไทยให้ผ่านพ้นสรรพอุปัทว์พิบัติทั้งปวง อริราชศัตรูภาบนอกอย่าล่วงเข้าทำอันตรายได้ ศัตรูหมู่พาลภายในให้วอดวายพ่ายแพ้ภัยตัว บันดาลความสุขความมั่นคงให้บังเกิดทั่วภูมิมณฑล บันดาลความร่มเย็น
แก่อเนกนิกรชนครบคามเขตขอบขัณฑสีมา"
(ภาวาส บุนนาค,"ราชาภิสดุดี." ในวรรณลักษณวิจารณ์เล่ม ๒ หน้า ๑๕๙.)
.....๑.๒ ภาษาระดับมาตรฐานราชการ แม้ภาษาระดับนี้จะไม่อลังการเท่าภาษาระดับพิธีการ แต่ก็เป็นภาษาระดับสูงที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบและถูกหลักไวยากรณ์ มีความชัดเจน สละสลวย สุภาพ ผู้ใช้ภาษาจึงต้องใช้รายละเอียดประณีตและระมัดระวัง ต้องมีการร่าง แก้ไข และเรียบเรียงไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการในการกล่าวคำปราศรัย การกล่าวเปิดการประชุม การกล่าวคำประกาศเกียรติคุณ นอกจากนี้ยังใช้ในการเขียนผลงานวิชาการ เรียงความ บทความวิชาการ หนังสือราชการ และคำนำหนังสือต่างๆ เป็นต้น
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างภาษาระดับมาตรฐานราชการในบทความวิชาการ
"บทละครไทยเป็นอีกรูปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมไทย บทละครของไทยเป็นวรรณกรรมที่ประพันธ์ขึ้นทั้งเพื่ออ่านและเพื่อแสดง รูปแบบที่นิยมกันมาแต่เดิมคือบทละครรำ ต่อมามีการปรับปรุงละครรำให้ทันสมัยขึ้นตามความนิยมแบบตะวันตก จึงมีรูปแบบใหม่เกิดขึ้น ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรับรูปแบบละครจากตะวันตกมาดัดแปลงให้เข้ากับสังคมไทยและวัฒนธรรมไทย ทำให้การละครไทยพัฒนาขึ้น โดยมีกระ
บวนการแสคงที่แตกต่างไปจากละครไทยที่มีอยู่ มาเป็นละครร้อง ละครพูด และละครสังคีต"
(กันยรัตน์ สมิตะพันทุ, "การพัฒนาตัวละครในบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว."ในบท ความ วิชาการ ๒๐ ปี ภาควิชาภาษาไทย,หน้า ๑๕๘.) 

๒ ภาษาแบบไม่เป็นทางการ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน สามารถจัดเป็น ๓ ระดับ
คือภาษากึ่งทางการ ภาษาระดับกึ่งทางกลาง ภาษาระดับสนทนา และภาษากันเองหรือภาษาปาก
.....๒.๑ ภาษาระดับกึ่งทางราชการ มีลักษณะที่ยังคงความสุภาพอยู่ แต่ผู้ใช้ภาษาก็ไม่ระมัดระวังมากเท่า
การใช้ภาษาเป็นทางการ เพราะอาจใช้รูปประโยคง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้เป็นระดับสามัญ บางครั้งมีภาษาระดับสนทนาเข้ามาปะปนด้วย ภาษาระดับกึ่งทางการในการติดต่อธุรกิจการงาน หรือใช้สื่อสารกับบุคคลที่ไม่สนิทสนมคุ้นเคยกัน และใช้ในการเขียนเรื่องที่ผู้เขียนต้องให้อ่ารู้สึกหมือนกำลังฟังผู้เขียนเล่าเรื่องหรือเสนอความคิดเห็นอย่างไม่เคร่งเครียด เช่น การเขียนสารคดีท่องบทความแสดงความคิดเห็น หรือการเล่าเรื่องต่างๆ เช่น
ชีวประวัติ เป็นต้น
      ตัวอย่างภาษาระดับกึ่งทางการในบทความแสดงความคิดเห็น
"ฉะนั้นในช่วงเรียนอยู่ในระดับมัธยม ผู้ที่มีความขยันมุ่งมั่นจะเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้จะไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
รอบกายทั้งสิ้น ยกเว้นสิ่งที่เขาคิดว่าจะสามารถทำให้เขาสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ชีวิตนักเรียนมัธยมจึงมีแต่ติว
ติวและติว กีฬาฉันไม่เล่น กิจกรรมฉันไม่มีเวลาทำ และยิ่งห้องสมุดฉันไม่ทราบว่าจะเข้าไปทำไม เพราะเวลาทั้งหมดจะต้องใช้ท่องตำราอย่างเดียว แล้วก็มักจะประสบความสำเร็จตามที่คิดเสียด้วย
คือสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้"
(เปล่งศรี อิงคนินันท์,"ต้องขอให้อาจารย์ช่วย",ก้าวไกล ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔, หน้า ๒๗.)
.....๒.๒ ภาษาระดับสนทนา มีลักษณะของภาษาพูดที่เป็นกลางๆ สำหรับใช้ในการสนทนากันในชีวิตประจำวัน ระหว่างผู้ส่งสารที่รู้จักคุ้นเคยกัน นอกจากนั้นยังใช้ในการเจรจาซื้อขายทั่วไป รวมทั้งในการประชุมที่ไม่เป็นทางการ มีลักษณะรูปประโยคไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้อยู่ในระดับคำที่มีคำสแลง คำตัด คำย่อปะปนอยู่ แต่ตามปรกติจะ
ไม่ใช้คำหยาบ ภาษาระดับสนทนาใช้ในการเขียนนวนิยาย บทความบทภาพยนตร์สารคดีบางเรื่อง และรายงานข่าว เป็นต้น
ตัวอย่างภาษาระดับสนทนาในข่าว
"จากกรณีที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เกจิดังแห่งวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมาได้อาพาธ
ลงอย่างกะทันหัน มีอาการอ่อนเพลียอย่างหนักเนื่องจากต้องตรากตรำทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลและเคาะหัว
ให้กับบรรดาศิษยานุศิษย์จนไม่มีเวลาพักผ่อน เกิดอาการหน้ามืดจนกระทั่งลูกศิษย์ต้องหามส่งโรงพยาบาลมหาราช นายแพทย์เจ้าของไข้ได้ตรวจร่างกายแล้วแจ้งให้ทราบว่าเป็นไข้หวัด"
(เดลินิวส์,๒๗ มีนาคม ๒๕๓๙.)
.....๒.๓ ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้สนทนากับผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมากๆ เช่น ในหมู่เพื่อนฝูง
หรือในครอบครัว อละมักใช้พูดกันในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว ในโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครื้นเครง หรือในการทะเลาะด่าทอทอกัน ลักษณะของภาษาระดับกันเองหรือภาษาปากนี้มีคำตัด คำสแลง คำต่ำ
คำหยาบ ปะปนปยู่มาก ตามปรกติจึงไม่ใช้ในการเขียนทั่วไป นอกจากในงานเขียนบางประเภท เช่น นวนิยาย
หรือเรื่องสั้น บทละคร ข่าวกีฬา เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปากในนวนิยาย
"มึงจะไปไหน ไอ้มั่น...กูสั่งให้ปล่อยมันไว้อย่างนั้น ไม่ต้องสนใจ กูอยากนั่งดูมัน มองมันตายช้าๆ
เลือดไหลออกจนหมดตัว และหยุดหายใจในที่สุด ถึงจะสมกับความแค้นของกู"
("จราภา","นางละคร" สกุลไทย ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๒๑๖๒,หน้า ๑๐๗.)
ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปากในข่าวกีฬา
"บิ๊กจา"เตรียมเดินเครื่องวางงานกีฬายาว จะเสนอตัวเป็นคณะกรรมาธิการวุฒิสภาการกีฬาดันงบหนุนซีเกมส์,
เอเชียนเกมส์ หร้อมกับความเป็นเจ้าเหรียญทอง ส่วนสมาคมตะกร้อรับว่าแตกเป็นเสี่ยง ให้พิสูจน์กันในตะกร้อ
คิงส์คัพหนที่ ๑๒ ใครผลงานดีได้พิจารณามาทำทีมชาติ 

คำสรรพนาม

คำสรรพนาม

          คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามในประโยคสื่อสาร เราใช้คำสรรพนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำๆ
ชนิดของคำสรรพนาม แบ่งเป็น
7 ประเภท ดังนี้
        1. สรรพนามที่ใช้ในการพูด (บุรุษสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้ในการพูดจา สื่อสารกัน ระหว่างผู้ส่งสาร (ผู้พูด) ผู้รับสาร (ผู้ฟัง) และผู้ที่เรากล่าวถึง มี 3 ชนิด ดังนี้
    1) สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้ส่งสาร (ผู้พูด) เช่น ฉัน ดิฉัน ผม ข้าพเจ้า เรา หนู เป็นต้น
    2) สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้รับสาร (ผู้ที่พูดด้วย) เช่น ท่าน คุณ เธอ แก ใต้เท้า เป็นต้น
    3) สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น ท่าน เขา มัน เธอ แก เป็นต้น
         2. สรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค (ประพันธสรรพนาม)สรรพนามนี้ใช้แทนนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าและต้องการ จะกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังใช้เชื่อมประโยคสองประโยคเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น   บ้านที่ทาสีขาวเป็นบ้านของเธอ(ที่แทนบ้าน เชื่อมประโยคที่ 1บ้านทาสีขาว กับ ประโยคที่ 2 บ้านของเธอ)
         3. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ (วิภาคสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า เมื่อต้องการเอ่ยซ้ำ โดยที่ไม่ต้องเอ่ยนามนั้นซ้ำอีก และเพื่อแสดงความหมายแยกออกเป็นส่วนๆ ได้แก่คำว่า บ้าง ต่าง กัน ตัวอย่างเช่น    นักศึกษาต่างแสดงความคิดเห็น   สตรีกลุ่มนั้นทักทายกัน   นักกีฬาตัวน้อยบ้างก็วิ่งบ้างก็กระโดดด้วยความสนุกสนาน
         4. สรรพนามชี้เฉพาะ (นิยมสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงที่อยู่ เพื่อระบุให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น โน้น ตัวอย่างเช่น  นี่เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ในปีนี้              นั่นรถจักรายานยนต์ของเธอ
         5. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามที่กล่าวถึงโดยไม่ต้องการคำตอบ   ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด สิ่งใด ใครๆ อะไรๆๆ ใดๆ ตัวอย่างเช่น   ใครๆก็พูดเช่นนั้น    ใครก็ได้ช่วยชงกาแฟให้หน่อย   ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง   ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้
         6. สรรพนามที่เป็นคำถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามเป็นการถามที่ต้องการคำตอบ ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ไหน ผู้ใด ตัวอย่างเช่น  ใครหยิบหนังสือบนโต๊ะไป    อะไรวางอยู่บนเก้าอี้
ไหนปากกาของฉัน  ผู้ใดเป็นคนรับโทรศัพท์
         7. สรรพนามที่เน้นตามความรู้สึกของผู้พูด สรรพนามชนิดนี้ใช้หลักคำนามเพื่อบอกความรู้สึกของผู้พูดที่มีต่อบุคคลที่กล่าวถึง ตัวอย่างเช่น   คุณพ่อท่านเป็นคนอารมณ์ดี (บอกความรู้สึกยกย่อง)   คุณจิตติมาเธอเป็นคนอย่างงี้แหละ (บอกความรู้สึกธรรมดา)
หน้าที่ของคำสรรพนาม
1. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น ใครมา แกมาจากไหน นั่นของฉันนะ เป็นต้น
2. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น เธอดูนี่สิ สวยไหม เป็นต้น
3. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม เช่น เสื้อของฉันคือนี่ สีฟ้าใสเห็นไหม เป็นต้น
4. ทำหน้าที่ตามหลังบุพบท เช่น เธอเรียนที่ไหน เป็นต้น
......................................................................................................................

ฉ่อยเรื่อง ขุนแผน